การเคหะแห่งชาติ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมวิจัยพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
นางรัศมี ไชยนันท์ รองผู้ว่าการ กคช. กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยในปี 2553 จะมีผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 11.7 ปี 2563 เพิ่มเป็นร้อยละ 16.8 และในปี 2573 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็นร้อยละ 20
การทำการศึกษาเรื่องของที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจึง เป็นสิ่งที่ กคช.ต้องศึกษาเพื่อนำไปประกอบแผนพัฒนา 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2553-2557 ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมาก่อน
โดยการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยที่ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาได้ 3 แนวคิด คือ 1. สร้างระบบดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยต้องอาศัยการดูแลเกื้อหนุน จากครอบครัวชุมชนและภาครัฐ 2.พัฒนาคุณภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาวะทางร่างกาย และ 3.การสร้างศูนย์ผู้สูงอายุ ให้ผสมผสานระหว่างการพึ่งตนเองในบางเรื่องและพึ่งคนอื่นในบางเรื่อง
ด้าน นางรวงทอง เตมีรักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายฟื้นฟูและ พัฒนาเมือง กคช. กล่าวถึงโครงสร้างพื้นฐานของบ้านผู้สูงอายุ ว่า มีหลายส่วนที่จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินชีวิตและสรีระของ ร่างกาย เช่น ห้องน้ำ ควรเป็นห้องน้ำแบบชักโครก ไม่ใช่แบบนั่งยอง ปลอดภัย คือไม่ลื่น มีราวจับ และจุดอาบน้ำควรเป็นที่นั่งอาบ ส่วนบันไดจะต้องไม่สูงเกินกว่า 17 เซนติเมตร ราวบันไดควรจะมีที่จับอย่างต่อเนื่อง และควรอยู่ด้านขวาซึ่งเป็นด้านถนัดของคนส่วนใหญ่ เส้นผ่าศูนย์ไม่รน้อยกว่า 2 นิ้ว ทางสัญจรในบ้านไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง โดยเฉพาะหากมีผู้ใหญ่ที่ต้องนั่งเก้าอี้วีลแชร์ เฟอร์นิเจอร์ในบ้านไม่ควรมีเหลี่ยม มุม ทั้งนี้ ยอมรับว่าครอบครัวไทยเริ่มตระหนักการสร้างบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุมากขึ้น กว่าเดิม โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2548 ที่ได้รับรู้ว่าสังคมไทยจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น
สำหรับโครงการวิจัยนี้ ผู้ทำการวิจัยได้ไปศึกษารวบรวมการทำงานด้านที่อยู่อาศัยของประเทศที่ก้าว เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนไทย 3 ประเทศ ได้แก่ ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ซึ่งจะนำมารวบในแผน 5 ปีด้วย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 21-09-52
ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com
...
23 กันยายน 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น