สภาสถาปนิก ออกโรงค้านประกาศกระทรวงทรัพย์ ที่ระบุโครงการก่อสร้างพื้นที่ 4,000 ตร.ม.ขึ้นไป ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หวั่นกระทบเศรษฐกิจ
พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพล นายกสภาสถาปนิก เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สวล.) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ลงนามประกาศ ณ วันที่ 20 ม.ค. 2552 โดยระบุว่า ยังมีบางประเด็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มองว่าเรื่องดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบ คุมของสถาปนิก และผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารในภาพรวม
ในระหว่างที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทราบว่าหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ได้แจ้งต่อสถาปนิกและผู้ดำเนินโครงการที่ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารให้จัด ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศฯ จึงจะดำเนินเรื่องพิจารณาคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารท้ายประกาศฯ ที่ครอบคลุมประเภท ขนาดของโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรายงานผล กระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่ใช้สอยอาคารจากเดิม 1 หมื่นตร.ม.ขึ้นไป ปรับเป็นอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม.ขึ้นไป ส่งผลให้การพิจารณาล่าช้าออกไป และมีผลต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน
ปัจจุบันการขออนุญาต ใช้เวลาในการพิจารณากว่า 120-180 วัน และขณะนี้มีผู้ยื่นขออนุญาตกับกรุงเทพมหานครในอาคารเกินกว่า 4,000 ตารางเมตรเฉลี่ยต่อเดือน 40-60 อาคาร ยังไม่รวมอาคารที่ยื่นขออนุญาตที่ต่างจังหวัด
นอกจากนี้ นายกสภาสถาปนิก กล่าวได้มีสมาชิกสถาปนิกได้ส่งหนังสือร้องเรียน พร้อมรายละเอียดมายังสภาสถาปนิก ให้เข้าไปตรวจสอบงานออกแบบของสถาปนิกชาวต่างชาติ ที่ออกแบบให้กับโครงการขนาดใหญ่ใจกลางธุรกิจ ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายเนื่องจากเป็นวิชาชีพสงวนให้กับคนไทย โดยล่าสุด นายวีระพันธ์ ชินวัตร สถาปนิกวิชาชีพ ได้ส่งหนังสือร้องเรียนมายังสภาสถาปนิกให้ เข้าไปตรวจสอบ โครงการโรงแรมและชั้นล่างทำเป็นพลาซ่า มูลค่ารวมเป็นหมื่นล้านบาท บนที่ดินผืนงามย่านชิดลมโดยสถาปนิกออกแบบคือ AMANDA LEVETE Architects สถาปนิกต่างชาติ
ทั้งนี้ เมื่อสภาสถาปนิกได้ ให้ทางฝ่ายนิติกรเข้าไปตรวจสอบแล้ว แต่ไม่สามารถเอาผิดทางด้านกฎหมายได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารยืนยัน จะมีเพียงแต่ข้อมูลที่ระบุในเว็บไซต์ ซึ่งนำมาใช้อ้างอิงทางด้านกฎหมายไม่ได้ และแบบที่ออกมาดังกล่าวก็เป็นเพียงคอนเซปต์ดีไซน์เท่านั้น และสภาสถาปนิกเอง ก็ได้มีหนังสือตอบกลับไปยังผู้ร้องเรียนแล้วเช่นกัน ว่า สภาสถาปนิกไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด และการที่จะเอาโทษตามกฎหมายได้ต้องมีเอกสารและหลักฐานที่ชัดเจน
"มีหลายโครงการที่ดูแล้วเป็นงานออกแบบของสถาปนิกนอก แต่ก็เอาผิดไม่ได้ เพราะผู้ที่เซ็นรับรองแบบคือสถาปนิกไทย หรือไม่งานออกแบบชิ้นนั้นก็ได้รับคำอธิบายเพียงว่า ต่างชาติเป็นที่ปรึกษา" นายกสภาสถาปนิกกล่าว
พร้อมกันนี้ ยังระบุว่า เมื่อปิดกั้นทางด้านกฎหมายแล้วยังไม่สามารถควบคุมได้ ก็น่าจะเปิดเสรี แต่จะต้องเปิดแบบเงื่อนไขประเภทและขนาดของงาน และในกรณีที่มีการทำงานร่วมงานสถาปนิกไทย จะต้องมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ตามเงื่อนไขของกฎหมายนั้น บริษัทใหม่ที่ตั้งขึ้นต้องได้รับการรับรอง หรือได้ไลเซ่นส์จากสภาสถาปนิก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 08-06-52
ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com
...
8 มิถุนายน 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น