ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
25 ธันวาคม 2551

โครงการที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนเป็น โครงการความร่วมมือระหว่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้จัดทำสินเชื่อโครงการบ้าน มิตรภาพ สปส.-ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน

กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกันตนสามารถจัดซื้อ/จัดหาที่อยู่ อาศัย เป็นของตนเองได้สะดวกขึ้น และเพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้และเงินงวดผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับ สถาบันการเงินต่าง ๆ ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงขอประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินของโครงการ ดังนี้

หลักเกณฑ์การให้กู้เงิน

1. คุณสมบัติของผู้กู้ เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่ง พรบ. ประกันสังคม พศ. 2533 ที่เป็นผู้ประกันตนมาแล้ว 1 ปี และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่ง พรบ. ประกันสังคม พศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. วัตถุประสงค์การขอกู้

2.1 เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด*

2.2 เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร*

2.3 เพื่อต่อเติม หรือขาย หรือซ่อมแซมอาคาร*

2.4 เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดจากสถาบันการเงินอื่น*

2.5 เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในบัญชีเงินกู้ที่กู้อยู่กับ ธอส. เฉพาะบัญชีที่กู้ซื้อบ้าน/อาคาร/ห้องชุด/ สิ่งปลูกสร้าง ไม่รวมการกู้ซื้อที่ดินเปล่า (ยกเว้นกรณีบัญชีที่มีอยู่กับธนาคารใช้สิทธิตามโครงการ บ้าน สปส. – ธอส. เดิม ไม่สามารถใช้สิทธิตามโครงการนี้ เพื่อลดดอกเบี้ยในบัญชีดังกล่าวได้)

3. วงเงินให้กู้

3.1 กรณีหน่วยงานต้นสังกัดของผู้กู้หักเงินเดือนผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้ธนาคาร

3.1.1 ตามเกณฑ์รายได้ ตามระเบียบปกติของธนาคาร โดยเงินงวดผ่อนชำระรายเดือนต้องไม่เกิน ร้อยละ 80 ของเงินเดือนสุทธิ

3.1.2 ตามเกณฑ์หลักประกัน

- ที่ดินและอาคาร ไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

- อาคารพาณิชย์ ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

- ห้องชุด

- กรณีราคาประเมินหลักประกันต่ำกว่า 1 ล้านบาท/หน่วย ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

- กรณีราคาประเมินหลักประกัน ตั้งแต่ 1 ล้านบาท/หน่วย ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

3.2 กรณีผู้กู้ส่งชำระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง

3.2.1 ตามเกณฑ์รายได้ ตามระเบียบปกติสำหรับลูกค้ารายย่อยของธนาคาร (โดยเงินงวดผ่อนชำระรายเดือนต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้สุทธิต่อเดือน)

3.2.2 ตามเกณฑ์หลักประกัน

- ที่ดินและอาคาร ไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

- อาคารพาณิชย์ ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 75 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

- ห้องชุด

- กรณีราคาประเมินหลักประกันต่ำกว่า 1 ล้านบาท/หน่วย ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

- กรณีราคาประเมินหลักประกัน ตั้งแต่ 1 ล้านบาท/หน่วย ไม่เกินร้อยละ 80 ของ ราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

4. ระยะเวลาการกู้

ไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้ (ผู้มีคุณสมบัติตามโครงการ) รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

5. หลักประกันในการขอกู้เงิน

เป็นโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3ก. หรือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด

6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เป็น 2 ประเภท ดังนี้

6.1 กรณีหน่วยงานต้นสังกัดของผู้กู้หักเงินเดือนผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้ ธนาคาร (ตามข้อ 3.1) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แรก = 4.50 % ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราลอยตัว = MRR – 1.00 % ต่อปี

6.2 กรณีผู้กู้ส่งชำระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง (ตามข้อ 3.2) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แรก = 4.50 % ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราลอยตัว = MRR-0.50% ต่อปี

7. การคำนวณเงินงวด

คำนวณโดยใช้อัตราดอกเบี้ยตามข้อ 6. บวกร้อยละ 1.00 ต่อปี

8. การชำระหนี้เงินกู้

8.1 กรณีหน่วยงานต้นสังกัดของผู้กู้หักเงินเดือนผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้ธนาคาร (ตามข้อ 3.1)

8.1.1 เมื่อผู้กู้ทำนิติกรรมกับธนาคารแล้ว ให้ผู้กู้นำส่งหนังสือขอให้หักเงินเดือนหรือค่าจ้างพร้อมกับ แบบฟอร์ม การส่งเงินชำระหนี้เงินกู้ให้กับหน่วยงานต้นสังกัด (ผู้กู้จะได้รับในวันเซ็นสัญญา กู้เงินกับธนาคาร)

8.1.2 หน่วยงานต้นสังกัดของผู้กู้จะต้องดำเนินการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างของผู้ กู้ส่งชำระหนี้ให้ ธนาคารทุกเดือน จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และในการส่งชำระหนี้เงินกู้ให้ธนาคาร หน่วยงาน ต้นสังกัดจะต้องแสดง รายละเอียด ชื่อผู้กู้ เลขที่บัญชีเงินกู้ และจำนวนเงินงวด ที่ผ่อนชำระของผู้กู้แต่ละรายให้ธนาคารทราบ (ตามแบบฟอร์มการส่งชำระหนี้เงินกู้)

8.1.3 กรณีหน่วยงานต้นสังกัดยังไม่หักเงินเดือนหรือค่าจ้างของผู้กู้ส่งชำระหนี้ ให้ธนาคาร ขอให้ผู้กู้ส่งเงินงวด ชำระหนี้เงินกู้ให้ธนาคารโดยตรงไปก่อน จนกว่าหน่วยงานต้นสังกัด จะทำการหักเงินเดือน หรือค่าจ้างส่งชำระหนี้ให้ธนาคาร

8.2 กรณีผู้กู้ส่งชำระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง (ตามข้อ 3.2)

8.2.1 ชำระด้วยตนเอง ณ สำนักงาน / เคาน์เตอร์การเงินของธนาคารทุกแห่ง หรือ

8.2.2 ชำระโดยการหักบัญชีเงินฝากธนาคารต่าง ๆ โดยผู้กู้นำสมุดเงินฝากที่ต้องการให้หักบัญชี (พร้อมสำเนาสมุด) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารในวันยื่นกู้ หรือ นัดทำสัญญากู้เงินหรือ แจ้ง ความประสงค์ได้ที่ ส่วนบัญชีเงินกู้ สำนักงานใหญ่ หรือ สาขาที่ยื่นกู้ หรือ

8.2.3 ำระผ่านเคาน์เตอร์ตัวแทนต่าง ๆ ได้แก่ ที่ทำการไปรษณีย์, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์, ศูนย์บริการ ทีโอที, ร้านเทเลวิซและสำนักงานบริการ AIS, เคาน์เตอร์เซอร์วิส (โดยผู้กู้นำ แบบฟอร์มชำระหนี้เงินกู้ที่มีบาร์โค้ด หรือ ใช้บัตรชำระหนี้เงินกู้ ไปยื่นชำระ)

8.3 ในการชำระหนี้เงินกู้งวดแรก ผู้กู้จะต้องชำระเงินงวดพร้อมกับค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย

8.4 ชำระหนี้ปิดบัญชีก่อน 3 ปีนับจากวันทำสัญญากู้เงินครั้งแรก ธนาคารจะคิดค่าเบี้ยปรับร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ตามสัญญา หรือ ตามประกาศธนาคาร

9. การพิจารณาให้กู้เงินและเงื่อนไขอื่น ๆ รวมถึงกรณีผิดนัดชำระหนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ และระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร

10. การหมดสิทธิการกู้เงินตามโครงการ

ธนาคารจะยกเลิกการใช้สิทธิ และเปลี่ยนดอกเบี้ยเงินกู้เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัวสำหรับลูกค้าทั่วไปของ ธนาคาร ในกรณีดังนี้

10.1 กรณีผู้กู้มีหนี้ค้างเมื่อครบกำหนดชำระแล้ว (DPD) เกิน 90 วัน* หรือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติของธนาคาร

10.2 สำนักงานประกันสังคมแจ้งยกเลิกการใช้สิทธิ

*ธนาคารสงวนสิทธิ ในการเปลี่ยนแปลง การนับจำนวนวันได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า*

11. กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงิน

ติดต่อยื่นคำขอกู้เงินได้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2551 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2554 หรือ สิ้นสุดเมื่อธนาคารอนุมัติ สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการ (แล้วแต่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดถึงก่อน)

12. ระยะเวลาสิ้นสุดในการทำนิติกรรม

ผู้ที่ยื่นคำขอกู้เงินภายในกำหนดตามข้อ 11. จะต้องทำนิติกรรม กับธนาคารให้เสร็จสิ้นก่อนวงเงินของโครงการจะหมดลง หรือ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 (แล้วแต่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดถึงก่อน)

13. สถานที่ติดต่อยื่นคำขอกู้เงิน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักพระราม 9 สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือสำนักงานสาขาภูมิภาคทุกแห่ง

14. หลักฐานการขอกู้เงิน

14.1 หลักฐานการรับรองเงินเดือน

14.1.1 กรณีหน่วยงานต้นสังกัดของผู้กู้หักเงินเดือนผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้ ธนาคาร (ตามข้อ 3.1)ให้ผู้กู้ยื่นเอกสาร 2 ฉบับ (แบบของหนังสือให้ใช้ตามที่ธนาคารกำหนด สามารถ download ได้จาก website ของธนาคาร www.ghb.co.th หรือ website ของ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ สำนักงานสาขาของธนาคารทุกแห่ง) ดังนี้

หนังสือรับรองและยินยอมให้หักเงินเดือนนำส่งชำระหนี้เงินกู้

(ผู้กู้ติดต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อขอให้ออกหนังสือนี้ให้กับผู้กู้)

หนังสือแสดงความยินยอมให้หักเงินเดือนส่งชำระหนี้เงินกู้

(ให้ผู้กู้ทำขึ้น 2 ฉบับ ฉบับแรกใช้ยื่นขอกู้เงินกับธนาคาร สำหรับอีก 1 ฉบับให้หน่วยงานต้นสังกัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน)

14.1.2 กรณีผู้กู้ส่งชำระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง (ตามข้อ 3.2) ให้ผู้กู้ขอหนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงานต้นสังกัด (ใช้หนังสือรับรองเงินเดือนทั่วไป ตามแบบของหน่วยงานต้นสังกัด) และนำมาใช้ยื่นขอกู้เงินกับธนาคาร

14.2 สลิปเงินเดือน หรือใบแจ้งรายการเงินเดือนจากหน่วยงานต้นสังกัด และหลักฐานแสดงฐานะ ทางการเงิน อื่น ๆ เช่น บัญชีเงินฝากธนาคารต่าง ๆ (กรณีมีผู้กู้ร่วมขอหนังสือรับรองเงินเดือน ของผู้กู้ร่วมด้วย)

14.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประกันสังคม (ใบเปลี่ยนชื่อ/สกุล (ถ้ามี))

14.4 สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้า

14.5 สำเนาทะเบียนสมรส / หย่า / มรณะบัตร แล้วแต่กรณี

14.6 สำเนาโฉนดที่ดิน หรือน.ส.3ก. หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า

14.7 กรณีซื้อห้องชุด ที่ดินพร้อมอาคาร ที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร ให้แสดงสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ

14.8 กรณีปลูกสร้างอาคาร ให้แสดงสำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร / คำขออนุญาต / แบบก่อสร้างอาคาร

14.9 กรณีไถ่ถอนจำนอง ให้แสดงสำเนาสัญญากู้ สัญญาจำนอง Statement/ใบเสร็จการผ่อนชำระ ย้อนหลัง 12 เดือน และหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินที่นำมาเป็นหลัก ประกัน ได้แก่ สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน (ฉบับสำนักงานที่ดิน) หรือใบแจ้งเลขหมาย ประจำบ้าน หรือใบอนุญาต ก่อสร้างอาคาร

* ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในเอกสารข้อ 14.3-14.9

* กรณีมีผู้กู้มากกว่า 1 คน ผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องนำเอกสาร ตามข้อ 14.1-14.5 มาแสดงต่อธนาคารด้วย

* ในกรณีจำเป็น ธนาคารอาจขอหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

0 ความคิดเห็น: