ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
25 ธันวาคม 2551

ฮวงจุ้ย เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีอายุยืนยาวนานนับพันปี ซึ่งมีผู้ศึกษาในหลาย ๆ ระบบหลักวิชา อาจมีข้อที่เหมือน หรือแตกต่างกันไป ทางเราจะใช้วิชา ฮวงจุ้ย ระบบเฮี่ยงคง เป็นหลักในการวิเคราะห์ แต่วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง ทำเล ตามฮวงจุ้ย

ดูหลักปฏิบัติ ( หยาง ) ก่อนเช่นกัน

1. การคมนาคมสะดวก

2. ดูสภาพแวดล้อม เช่น ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม น้ำท่วม โรงงาน ( เสียง / กลิ่น / มลภาวะ )

3. ราคาที่ยุติธรรม และเหมาะสมกับฐานะ

4. หากเป็นกิจการ ต้องดูเพิ่มเติมในเรื่องกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ดูหลักการวิชาฮวงจุ้ย ( อิน ) ต่อจากข้างต้น

1. สภาพ ชัยภูมิ ( ตี่ลี่ )

( โอบอุ้ม / ปกติ / ทิ่มแทง / เชือดเฉือน / หนีจาก / สูง-ต่ำ / ลักษณะวิบากอื่น ๆ ) ไม่มีที่ใดที่ดีเลิศ หากเป็นจุดเสียที่ไม่รุนแรง ก็หาทางแก้ไขเอาตามสภาพ

2. ดู ทิศทาง : หาองศา เดินดาวตามยุคสร้าง ยกเว้นมีการเปลี่ยนยุค เดินตามยุคที่เปลี่ยนล่าสุด แล้วดูประตูไม่เสียหาย ก็ถือว่าใช้ได้
หากประตูไม่ดี ทดลองเดินดาวของการเปลี่ยนประธานเป็นด้านซ้าย ขวา หรือเข้ามุมแล้วให้ประตูออกมาเป็นบทบาทที่ดี

3. ดวงชะตา เจ้าบ้านสอดคล้ง ราศีของหลังบ้าน หรือประธานต้องไม่เป็นตัวให้โทษรุนแรงกับดวงเจ้าบ้าน และให้กำหนดโต๊ะทำงาน หรือหัวเตียงพิงทิศที่ให้คุณกับดวง หรืออย่างน้อยที่สุดไม่ให้โทษ แต่กรณีที่ไม่รีบร้อน เช่น บุคคลที่มีฐานะจะซื้อบ้านหลังที่ 2 ราศีหลังบ้าน หรือประธานเป็นธาตุสำคัญได้ยิ่งดี

4. เวลา ( ฤกษ์ยาม ) เหมาะสม ดูฤกษ์ หากไม่ได้ ฤกษ์ที่ดี ได้ฤกษ์ปลอดภัย ( คือไม่ติดบวกและไม่ติดลบ ) ถือว่าดี ไม่ว่าหันหน้าไปทิศใด ก็มีทั้งดีและไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับยุคใด องศาใด และดวงของผู้ที่จะอยู่อาศัยเหมาะกันหรือไม่

หมายเหตุ

โดยหลักการทั่วไปสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นควรสร้างบ้านหันแนวเหนือใต้ เพราะอาคารจะได้โดนแดดน้อยที่สุด ด้านทิศตะวันตก ซึ่งแดดร้อนที่สุด รองลงมาคือทิศใต้ ควรออกแบบให้มีหน้าต่างน้อยหน่อย และใช้ เป็นส่วนที่ไม่สำคัญ เช่น ห้องน้ำ โรงรถ ห้องเก็บของ ควรหลีกเลี่ยงห้องนอน เพราะจะทำให้แอร์ทำงานหนัก กินไฟ

การออกแบบบ้านที่ดีในปัจจุบันและอนาคต ต้องคำนึงถึงหลักการประหยัดพลังงานให้มาก เพราะจะช่วยประหยัดเงินของเราเอง และของประเทศชาติ ลดมลภาวะทางอ้อมทั้งหมดเป็นหลักการเบื้องต้นสำหรับบ้านเรา ซึ่งเมื่อเป็นภูมิภาคอื่น ๆ ปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างกันไป ก็ต้องพิจารณาใหม่

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : โดยอาจารย์เกรียงไกร บุญธกานนท์

0 ความคิดเห็น: