นายกฯ แนะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) งัดเทคโนโลยีแก้ปัญหาที่ดิน ที่เป็นหนึ่งในความเหลื่อมล้ำ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนาโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาบุกรุก ทำลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลแนวเขตที่ดินของรัฐประเภทป่าไม้ ซึ่งจัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯได้บรรยายสรุปถึงสถานการณ์ป่าไม้ในประเทศ
จากนั้นนายกฯ กล่าวกับข้าราชการทส.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่า การสัมมนาครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงนโยบายและกระบวนการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจและสังคม ตนเรียนว่าเราทุกคนที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะที่สัมผัสกับประชาชนและทราบว่า ปัญหาที่ทำกินและป่าไม้เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นปมขัดแย้งในหลายพื้นที่ เป็นปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งนี้ไม่มีสภาผู้แทนฯยุคไหนที่ไม่หยิบเรื่องนี้มาถกเถียงและแก้ไขปัญหาใน ประเด็นเดิมๆในป่ารุกคน คนรุกป่า ป่าจะอยู่กับได้หรือไม่ รวมทั้งมีการพิจารณากฎหมายฉบับต่างๆเพื่อจัดการพื้นที่ในแต่ละยุคแต่ละสมัย
อย่างไรก็ตาม ที่ต้องย้ำคือปัจจุบันปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เพราะการเติบโตของสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งทุกประเทศในโลกประชากรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงมีความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้นจึงมีความต้องการให้ตอบสนองด้วยการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นนับวันปัญหาความขัดแย้งส่วนนี้จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
นายกฯ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันเรากำลังเข้าสู่ยุคที่มีความท้าทายด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งแหล่งผลิตหนีไม่พ้นเรื่องของที่ดิน พร้อมกันไปเราเข้าสู่ยุคที่ว่าหากไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสมดุลกระบวนการแก้ไขจะ ขาดความยั่งยืนและปัญหาจะเข้าขั้นวิกฤติ ดังจะเห็นจากปัญหาสภาวะโลกร้อน ความแปรปรวนของภูมิอากาศ จากการทำลายป่าไม้และต้นน้ำ จนทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือต่ำสุดเมื่อเทียบปี 2535-2537 ทำให้การบริหารจัดการยากลำบาก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และท้าทายกระบวนการในอาคต ซึ่งรัฐบาลและทส.ได้ตระหนักเรื่องนี้จึงมีการปรึกษาหารือและเห็นพ้องกันว่า ถ้าปล่อยวิธีการแก้ไขปัญหาที่บางส่วนยังมองมิติเดียว เช่น การจัดที่ทำกิน การอนุรักษ์ป่าไม้ การดูแลสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ซึ่งเชื่อว่าจะไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและไม่มีคำตอบที่ยั่งยืนได้ เพราะความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาทำให้ชุมชนขยายตัวแบบไม่ธรรมชาติ ที่จะมีกลุ่มใหม่ๆบุกรุกเข้าไป ซึ่งถ้าเราตอบเชิงหลักการก็ง่ายดี แต่กว่าจะพิสูจน์ว่าใครอยู่ก่อนหลังเวลาที่ทอดไปก็มีกลุ่มใหม่เข้าไปก็เป็น ปัญหา
"ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อก็เป็นปัญหาที่นำมาสู่การเรียกร้องการชุมนุม กลายเป็นเงื่อนไขประเด็นของความขัดแย้ง ที่จะกระทบการเมืองและความมั่นคงได้ ดังนั้นนี่จึงเป็นจุดหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำใน สังคม ที่อยู่ในแผนปรองขณะนี้ด้วย" นายกฯ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องเป็นที่ยอมรับจาก ทุกฝ่ายในการหาข้อเท็จจริงเพื่อความยั่งยืน เพราะกระบวนการที่มีอยู่ในการพิสูจน์สิทธิ์นั้นก็ถูกโต้แย้งอย่างมาก เพราะเส้นแต่ละเส้นที่เขียนลงไปก็คลาดเคลื่อน แตกต่างไม่ตรงกับความเป็นจริงในปัจจับนและยังมีปัจจัยแทรกซ้อนเข้ามาอีก จำนวนมาก ฉะนั้นหวังว่าสิ่งที่เป็นความคาดหวังของรัฐบาลและประชาชนในการหาข้อยุติ เรื่องนี้นั้นต้องเป็นที่ยอมรับโดยการอาศัยเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แต่ทั้งนี้กระบวนการทางวิทยาศาตร์ก็ไม่ช่วยให้ปัญหาจบได้ เพราะหากขีดเส้นแล้วพบว่ามีการใช้ประโยชน์เกินความเป็นจริงก็ต้องเป็นเรื่อง ของนโยบายในการหาทางออกต่อไปที่เหมาะสม ซึ่งล่าสุดกำลังจะมีเรื่องของโฉนดชุมชน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : 18 มิ.ย.53
ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com
...
18 มิถุนายน 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น