ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
7 กุมภาพันธ์ 2553

กรมธนารักษ์เปิดเวทีระดมความเห็นรูปแบบศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานา ชาติที่ภูเก็ต เพื่อให้ออกมาตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่และการใช้งานได้ดีที่สุด ขณะที่ทุกภาคส่วนในภูเก็ตเห็นพ้องศูนย์ประชุมฯ จะต้องเป็นแลนด์มาร์กและเป็นอัตลักษณ์ของภูเก็ต อันดามัน พร้อมทั้งเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค.นี้

วันนี้ ( 6 ก.พ.) ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) นางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เป็นประธานการประชุม ระดมความคิดเห็นโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการ นานาชาติภูเก็ต งานสำรวจ และออกแบบรายละเอียดอาคาร (Detail Design) การศึกษาผลกระทบสิ่งแวลด้อม และการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยมีนายทศพร เทพบุตร และนายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต หอการค้าจังหวัดภูเก็ต สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันระดมความคิดเห็น เสนอแนะแนวความคิดการออกแบบรายละเอียดศูนย์ประชุมฯ ที่จะก่อสร้างบริเวณที่ราชพัสดุแปลงที่ ภก.153 เนื้อที่ 150 ไร่ ตั้งอยู่ที่ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

รศ.สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี ประธานโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติภูเก็ต งานสำรวจ และออกแบบรายละเอียดอาคาร การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์ได้ขอรับการจัดสรรเงินภายใต้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ระยะที่ 2 ได้วงเงิน 2,600 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมฯ บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ภก.153 บริเวณหาดไม้ขาว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ 3 ขั้นตอน คือ การดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จากนั้นจึงดำเนินการในขั้นตอนที่ 2 คือ การประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการประมาณเดือนมิถุนายน 2553 และขั้นตอนที่ 3 จัดจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างโครงการฯ ประมาณเดือนกรกฎาคม 2553

โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการชี้แจงแนวคิดเบื้องต้นและรับทราบข้อมูล ตลอดจนความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆในภูเก็ต เพื่อนำไปใช้ประกอบการออกแบบรายละเอียดต่อไป ซึ่งการก่อสร้างศูนย์ประชุมฯ นั้น เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจให้จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง เป็นแหล่งงานและกระจายรายได้ให้ท้องถิ่นจากการดำเนินโครงการ พัฒนาที่ราชพัสดุ เพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์กับภาครัฐและภาคเอกชน สร้างความมั่นคงให้จังหวัดภูเก็ตสู่ความเป็นมิตรไมตรีในระดับนานาชาติและ ประชาคมโลก โดยจะต้องไม่สร้างกิจกรรมแข่งกับเจ้าของท้องที่เดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น โรงแรม สถาบันเทิง เป็นต้น

สำหรับแนวทางการพัฒนาโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมฯนั้น ในเบื้องต้นจะมีการก่อสร้างอาคาร 2 หลัง สำหรับการจัดประชุมสัมมนาและการจัดแสดงนิทรรศการ โดยบริเวณภายในใช้เป็นกิจกรรมเพื่อเชิดชูวัฒนธรรมและเสริมสร้างสังคมของท้อง ถิ่นให้ได้รับประโยชน์ของทัศนียภาพท้องทะเลและอุทยานแห่งชาติ คำนึงถึงความปลอดภัยของมหาชนจากภัยธรรมชาติและการก่อการร้าย เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นจากนานาชาติและคนไทย หลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะและผลกระทบต่อท้องที่ ด้วยการสร้างอาคารให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และออกแบบโครงการเพื่อให้คนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจ แต่ยังมีข้อจำกัดของที่ดิน เกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดความสูงของอาคาร เช่น ความสูง ประเภทการใช้ที่ดิน เป็นต้น รวมทั้งยังไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานบริการด้านประปาและโทรศัพท์

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภูเก็ตเห็นด้วย กับโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมฯ โดยนายเมธี ตันมานะตระกูล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ กล่าวว่า โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมฯจังหวัดภูเก็ตรอคอยมานานกว่า 10 ปีแล้วซึ่งขณะนี้เริ่มที่จะเห็นเป็นรูปธรรมแล้วเมื่อมีการออกแบบและได้รับ การจัดสรรงบประมาณ แต่อยากจะทำความเข้าใจให้ชัดเจนระหว่างสัดส่วนของการเป็นศูนย์ประชุมฯ กับส่วนที่เป็นศูนย์แสดงนิทรรศการ เนื่องจากแบบที่จะออกมานั้นจะต้องมีความแตกต่างกันตามประเภทของการใช้งาน ทางกรมธนารักษ์ควรที่จะมีการว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ด้านการบริหาร จัดการศูนย์ประชุมและนิทรรศการมาร่วมเสนอแนวคิดการออกแบบ เช่น ไบเทค อิมแพ็ค เป็นต้น เพื่อให้ได้รูปแบบที่ใช้งานได้จริง และไม่มีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งหากให้เอกชนเป็นผู้บริหารจัดการก็ควรน่าที่จะเปิดประมูลหาผู้มารับมา ดำเนินการตั้งแต่เริ่มตอกเสาเข็มเพราะการขายตลาดไมค์นั้เนต้องทำล่วงหน้าไม่ น้อยกว่า 2 ปี และแบบที่ออกมานั้นจะต้องมีความเป็นมาตรฐานสากล สามารถรองรับการประชุมในระดับนานาชาติได้อย่างมืออาชีพ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งเห็นว่ารัฐไม่ควรที่จะสร้างโรงแรมภายในโครงการ เพราะขณะนี้ภูเก็ตมีโรงแรมที่จะให้บริการกว่า 50,000 ห้องแล้ว

ขณะที่นายสมบูรณ์ จิรายุส นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตนเป็นห่วงเรื่องของระยะเวลาการดำเนินการที่กำหนดไว้ 6 เดือน โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องใช้เวลานาน และในการบริหารจัดการนั้นอยากจะให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภูเก็ต ไม่ใช่เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทที่เข้ามาบริหารจัดการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ซึ่งควรที่จะได้รับประโยชน์จากการ ลงทุนโครงการดังกล่าวด้วย เพราะการมีศูนย์ประชุมฯ นับเป็นสิ่งที่ดีที่จะสร้างอาวุธทางการตลาดให้กับการท่องเที่ยวของภูเก็ตอีก ทางหนึ่ง

นายทศพร เทพบุตร ส.ส.ภูเก็ต กล่าวว่า แบบที่จะออกมานั้นควรที่จะมีความเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นภูเก็ต และอันดามัน รวมทั้งจะต้องเป็นแลนด์มาร์คของภูมิภาคนี้ด้วยเหมือนกับออสเตรเลีย หรือสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อศูนย์ประชุมสร้างแล้วเสร็จจะกลายเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่นักท่อง เที่ยวอยากจะไปก็จะเกิดกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เกิด ขึ้น

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมต่างเห็นร่วมกันว่ารูปแบบของศูนย์ประชุมฯที่จะเกิดขึ้นนั้นจะต้อง มีความเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นภูเก็ตและอันดามัน ควบคู่กับการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ระบบการจราจ ตลอดจนการสร้างกิจกรรมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์กับคนท้อง ถิ่น

ขณะที่นางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายหลังจากที่รับฟังความเห็นในครั้งนี้แล้ว ข้อมูลที่มีการนำเสนอทั้งหมดทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องนำไปประมวลผลเพื่อออก แบบศูนย์ประชุมให้ตรงกับความต้องการและการใช้งานให้มากที่สุด โดยเฉพาะหลายๆหน่วยงานต้องการที่จะให้ศูนย์ประชุมที่ออกมามีความเป็นอัต ลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นภูเก็ตรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อม ต้องมีความชัดเจนระหว่างการเป็นศูนย์ประชุมหรือศูนย์แสดงสินค้านิทรรศการ ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่าใน 5-10 ปีนี้ ตลาดประชุมสัมมนาหรือตลาดไมค์จะมาแรงมากซึ่งคิดว่าจะเกิดความคุ้มทุนกับภาษี ของประชาชนที่ได้ลงทุนไป นอกจากนี้ทางภาคเอกชนต้องการที่จะให้หาผู้บริการจัดการและทำตลาดโดยเร็วที่ สุดตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

นางอัญชลี กล่าวอีกว่า ตามกำหนดการเริ่มนั้นทางที่ปรึกษาจะต้องดำเนินกาศึกษาออกแบบฯโครงการนี้ให้ แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2553 นี้ แต่เนื่องจากทางคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเห็นว่าภายในโครงการนี้ไม่ควรที่ จะมีโรงแรมเพราะภูเก็ตมีโรงแรมจำนวนมากแล้วและรัฐไม่ควรที่จะลงทุนแข่งกับ เอกชนจึงต้องมีการแก้แบบโครงการใหม่ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะทันในเดือนเมษายนนี้ จำเป็นที่จะต้องเลื่อนออกไปให้สิ้นสุดในเดือนก.ค.โดยการขอความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรี โดยจะจัดซื้อจัดสร้างภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

รวมทั้งจะต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว เสร็จภายในเดือนก.ค.นี้ ซึ่งจุดนี้จะมีการเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากได้ผ่านเวลาของ ส่วนที่ยังมีปัญหาในเรื่องของผังเมืองก็จะได้ไปหารือกับหน่วยงานที่รับผิด ชอบอีกครั้ง


ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ : 6 ก.พ. 53

0 ความคิดเห็น: