ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
27 กรกฎาคม 2552

ประกาศ ใช้แล้วกฎหมายฟอกเงินฉบับใหม่ กำหนดให้อีก 9 อาชีพตั้งแต่ร้านค้าทอง เพชรพลอย ขาย-เช่าซื้อรถ นายหน้าค้าที่ดิน ที่ปรึกษาการลงทุน บัตรเครดิต บัตรเงินสด ต้องรายงานธุรกรรมให้ปปง.ตรวจสอบ บังคับสถาบันการเงินต้องตรวจสอบพฤติกรรมลูกค้าเป็นระยะอย่างละเอียด

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมว่า พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 3 )พ.ศ. 2552 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา(วันที่ 22 กรกฎาคม) และให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วันหรือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ทั้งนี้สาระสำคัญของ กฎหมายฉบับนี้คือ กำหนดอาชีพเพิ่มอีก 9 ประเภทต้องรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดเกินจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือ ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยให้แก่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

สำหรับอาชีพทั้ง 9 ประเภท ได้แก่

1.ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุน หรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุน

2.ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณีเพชรพลอย หรือทองคำที่เป็นนิติบุคคลล

3. ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ที่เป็นนิติบุคคล

4.ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นนิติบุคคลล

5. ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าที่เป็นนิติบุคคลล

6. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภาย ใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการ คลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับหรือตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

7. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ
สถาบันการเงิน( เช่น บัตรกดเงินสดอิออน )

8.ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่ มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตร เครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น บัตรเครดิตอิออน บัตรเครดิตจีอี

9. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส สบายเพย์)

อย่างไรก็ตามเว้นแต่ในกรณีที่ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยที่มีพยานหลักฐาน อันสมควรว่ามีการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความ ผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินกับ สำนักงาน ปปง.มี อำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบอาชีพผู้ประกอบอาชีพ ค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ ค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ นายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ค้าของเก่าซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคลรายงานธุรกรรมต่อสำนักงาน ปปง.ได้ด้วย

นอกจากนั้น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฉบับใหม่ ยังบัญยัติให้ สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพเปนที่ปรึกษาการลงทุน (ข้อ 1) และผู้รับชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ (ข้อ9) ต้อง กำหนดนโยบายการรับลูกค้า การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงินของลูกค้า และต้องดำเนินการ ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า เมื่อเริ่มทำธุรกรรมครั้งแรกโดย ต้องตรวจสอบเป็นระยะจนสิ้นสุดดำเนินการเมื่อมีการปิดบัญชี หรือยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า

ที่มา : มติชนออนไลน์ 26-07-52

0 ความคิดเห็น: