ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
21 เมษายน 2552

แม้ภาวะเศรษฐกิจจะฝืดเคืองมากขึ้น แต่บริษัทในเอเชียแปซิฟิกมากกว่าครึ่งยินดีจ่ายค่าเช่าที่แพงกว่าสำหรับกรีนบิลดิ้ง

ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ บริหารที่ดูแลงานด้านสถานประกอบการหรือออฟฟิศของบริษัทต่างๆ แสดงให้เห็นว่า บริษัท ในเอเชียที่เป็นผู้เช่าออฟฟิศในอาคารสำนักงาน ยินดีที่จะลงทุนในนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวด ล้อมมากกว่าบริษัทในภูมิภาคอื่นของโ ลก อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจโดยรวม สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทผู้เช่าออฟฟิศทั่วโลกที่ยินดีจะจ่ายค่าเช่าที่สูงกว่าสำหรับการเช่า ออฟฟิศในอาคารสำนักงานที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ กรีนบิลดิ้ง ในขณะนี้มีจำนวนลดลง

การสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว เป็นความร่วมมือกันระหว่างโจนส์ แลง ลาซาลล์ และคอร์เน็ต โกลบอล ซึ่งมีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารของบริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลก ที่ทำหน้าดูแลกิจการงานด้านสถานประกอบการ จำนวนกว่า 400 รายในช่วงปลายปี 2551 ก่อนนำคำตอบที่ได้มาประมวลผลและเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้

นายคริส วอลล์แบงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภาคพื้น เอเชียแปซิฟิกของโจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า "บริษัทที่ยินดีจ่ายค่าเช่าแพงกว่าสำหรับกรีนบิลดิ้ง มีจำนวนลดลง โดยผลสำรวจของเราแสดงให้เห็นว่า มีเพียง 40% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่า บริษัทของตนยินดีจ่ายสำหรับกรีนบิลดิ้ง ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดลง เมื่อเทียบกับผลสำรวจในปีก่อนหน้า คือ 70%"

อย่างไรก็ดี สัดส่วนของผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิก มีมากถึง 60% ที่ระบุว่ายินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นอีก 10% สำหรับการเช่าออฟฟิศในกรีนบิลดิ้ง ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 55% แต่ในขณะเดียวกัน มีเพียง 6% เท่านั้นที่บอกว่าบริษัทของตนพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% สำหรับการเช่าออฟฟิศในกรีนบิลดิ้ง แต่กระนั้น ยังนับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคำตอบจากผู้ตอบแบบสำรวจจากทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งมีเพียง 3% เท่านั้น

นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นด้วยว่า มีผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกจำนวนมากกว่า ที่ยินดีจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นสำหรับอาคารเก่าที่มีการปรับปรุงให้กลายเป็น อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ อม โดย 50% บอกว่ายินดีที่จะจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นได้ถึง 10% สำหรับอาคารเก่าที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นกรีนบิลดิ้ง อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ (30%) ยินดีจ่ายค่าเช่าเพิ่มอีก 5-10% ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจากทั่วโลก ส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเพิ่มระหว่าง 1%-5% นอกจากนี้ มีผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิก 13% ที่ยินดีจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% สำหรับอาคารเก่าที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นกรีนบิลดิ้ง

นายวอลล์แบงค์กล่าวว่า การที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่จากเอเชียแปซิฟิกที่ยินดีจะจ่ายค่าเช่าออฟฟิศ สูงขึ้นสำหรับกรีนบิลดิ้ง มีสัดส่วนที่สูงกว่า อาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ภูมิภาคนี้มีกรีนบิลดิ้งไม่มาก อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่เราได้พบจากการสำรวจครั้งนี้ คือ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า กรีนบิลดิ้งทั่วโลกหาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ"

ผลการสำรวจระบุว่า มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนเพิ่มขึ้น 20% ที่ระบุว่า สามารถหากรีนบิลดิ้งสำหรับใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานในประเทศของตนได้ยากขึ้น (เอเชียแปซิฟิก 68% ทั่วโลก 64%)

ส่วนบริษัทที่ไม่ยินดีจ่ายเพิ่มสำหรับการเช่าออฟฟิศในกรีนบิลดิ้ง นอกจากเรื่องของจำนวนกรีนบิลดิ้งที่มีอยู่จำกัดแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก โดยกว่า 30% บอกว่า "เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายผลตอบแทนที่จะได้รับกลับมา" "ไม่มีงบสำหรับดำเนินนโยบายด้านนี้" และ "ความสำคัญมีระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่"

แม้จะมีสิ่งท้ายหลายประการดังกล่าว ความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ผู้บริหารซึ่งดูแลงาน ด้านสถานประกอบการของบริษัท กำลังให้สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในเอเชียแปซิฟิก มี 65% ที่บอกว่า ความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอยู่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่เคยมีสัดส่วนอยู่ที่ 46% แนวโน้มนี้ เกิดขึ้นทั่วโลก โดย 67% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดเห็นต้องกันว่า ความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในขณะนี้ (ปีก่อนหน้า 47%)

นายวอลล์แบงค์กล่าวว่า "ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับเรื่องต้นทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ประสบการณ์ของเราแสดงให้เห็นว่า อาคารสำนักงานส่วนใหญ่จะสามารถลดต้นทุนการเดินการได้มากถึง 15% จากการใช้เพียงแต่เทคโนโลยีธรรมดาทั่วไปที่มีอยู่ในปัจจุบัน"

ประเด็นเรื่องความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธและการตัดสินใจด้านสถาน ประกอบการหรือออฟฟิศของบริษัท ต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก

ความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการกำหนดที่ตั้งของสถานประกอบการ78% ของผู้ตอบแบบสำรวจ มองว่า ความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นเกณฑ์สำคัญที่ใช้ประกอบการกำหนดกลยุทธด้านทำเลที่ตั้ง และ 81% ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของอาคารในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม

บริษัทของผู้ตอบแบบสำรวจ มีการดำเนินกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การรีไซเคิล (63%) การวางแผนการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ (53%) และการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม (49%)

กลยุทธการใช้พลังงานหมุนเวียนได้รับความนิยมค่อนข้างต่ำ โดยส่วนใหญ่ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดในการลงทุนด้านระบบพลังงานหมุนเวียน หรือการเลือกใช้พลังงานสะอาด ว่า "ไม่สนใจในเวลานี้" หรือ "ไม่สามารถทำได้"

ในการวัดผลเชิงปฏิบัติการ มีหลักเกณฑ์หลายๆ ประการที่ได้รับความนิยมใช้สำหรับวัดความสำเร็จในการดำเนินนโยบายความ ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดย 59% ให้ความ "สำคัญอย่างมาก" สำหรับการใช้น้ำ ตามมาด้วยปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 50% และการลดปริมาณขยะของเสีย 45% ในขณะเดียวกัน มีเพียง 27% เท่านั้นให้ความ "สำคัญอย่างมาก" กับการวัดผลโดยดูจากต้นทุนด้านพลังงาน แม้ 36% จะบอกว่าให้ความสำคัญ แต่บอกว่าวัดผลไม่ได้

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 21-04-52

0 ความคิดเห็น: