ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
30 มกราคม 2552

นายก รัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" วันอาทิตย์ที่ 25 ม.ค. ว่าจะขอล้างอาถรรพ์กฎหมายมรดก เพื่อประกาศใช้ให้ได้สำเร็จในยุครัฐบาลนี้

แต่อาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี เนื่องจากต้องพิจารณาข้อยกเว้นบางกรณี เช่น มรดกมูลค่าเท่าใดจึงจะไม่ต้องเสียภาษี

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ที่เสนอต่อ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ว่า

โครง สร้างภาษีประเทศไทยยังมีช่องโหว่ที่จะสามารถเติมเต็มรายได้เข้าสู่ประเทศมาก ขึ้น จากการเพิ่มการจัดเก็บภาษีมรดก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีสิ่งแวดล้อม

ซึ่งนายกรณ์รับลูกเรื่องนี้เต็มที่

แต่ ภาษีมรดกเป็นที่วิจารณ์กว่าภาษีอื่นๆ เพราะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลักคือผู้มีมรดกและทรัพย์สินจำนวนมาก อันเป็นกลุ่มคนที่มีเสียงค่อนข้างดังในสังคมไทย

แค่เริ่มต้นก็มีคนของพรรคประชาธิปัตย์เองที่ออกมาแสดง ความเห็นคัดค้าน

อาทิ นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ อดีตรมช.คลัง ที่ระบุว่าสรรพากรศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด และพบว่าเงินภาษีที่จะได้มีจำนวนน้อยแต่จะส่งผลต่อสังคมมหาศาล

แถมลูกขู่ตบท้ายว่า คนเก่งๆ ไปตายที่กระทรวงการคลังจำนวนมาก ถ้าพูดแล้วทำไม่ได้ก็จะเจ็บตัวเสียเปล่าๆ

ขณะ ที่ นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. ระบุว่าแม้เงินรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีมรดกจะไม่มาก เป็นเท่าไหร่ยังไม่มีข้อมูลชัด แต่ก็ควรจะจัดเก็บ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม

ในปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้จัดเก็บภาษีมรดกอยู่แล้ว รวม 53 ประเทศ อาทิ ในทวีปยุโรปเกือบทุกประเทศ ทวีปอเมริกาและแอฟริกาอีกหลายประเทศ รวมถึงนิวซีแลนด์ ส่วนฝั่งเอเชีย มีที่จัดเก็บแล้วดังนี้ ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ อินเดีย สิงคโปร์ จีน และไต้หวัน

นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายไว้ว่า ประเทศไทยเคยเก็บภาษีมรดกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยนั้นเรียกว่า "อากรมรดก" โดยเรียกเก็บเฉพาะ "ทรัพย์สมบัติที่เกินกำลังของทายาทที่ใช้สอยให้ตกเป็นของหลวงทั้งหมด"

และ ปรากฏต่อมาในกฎหมายเก่าที่เรียกกันว่า กฎหมายมรดกในบทที่ 13 กล่าวคือ มรดกชายมีบรรดาศักดิ์ให้แบ่งเป็น 4 ภาคเท่าๆ กัน คือ ภาคหลวงหนึ่ง ภาคบิดามารดาหนึ่ง ภาคภรรยาหนึ่ง และภาคญาติหนึ่ง

ภายหลังประเทศไทย เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 นายปรีดี พนมยงค์ แกนนำรัฐบาล เสนอ "เค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศสยาม" ในเค้าโครงดังกล่าวเสนอถึงวิธีจัดหาทุนโดยให้เก็บภาษีมรดกไว้ด้วย

ต่อมาปี พ.ศ.2476 สมัยรัฐบาล พระยาพหลพลหยุหเสนา สภาผู้แทนราษฎรได้ตราพ.ร.บ.อากรมรดกและการรับมรดก ขึ้นมาบังคับใช้

สาระสำคัญก็คือ ทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีครอบคลุมทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในประเทศไทย

ทรัพย์สินที่ผู้ตายได้มีการโอนให้แก่บุคคลอื่นในเวลาหนึ่งปีก่อนตาย

และให้ตีตามราคาตลาดในเวลาที่เจ้ามรดกตาย แต่ให้มีการคัดค้านและอุทธรณ์ได้

อัตราการเก็บใช้วิธีเก็บในอัตราก้าวหน้า มีวงเงินสุทธิยกเว้นให้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตรา

ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นขั้นๆ

กฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2487 สมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ

และไม่เคยถูกหยิบมาใช้อีกเลย

ที่มา : ข่าวสด 30-01-2552

0 ความคิดเห็น: