ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
27 มกราคม 2552

โบรกเกอร์หุ้นคาดมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ช่วยแค่ช่วงสั้น ด้านแบงก์ยังเชื่อมาตรการใหม่ไม่เข้าเป้า

บ้าน หลังใหม่ภายในปี 2552 สามารถนำเงินต้นจำนวน 3 แสนบาท มาหักภาษีได้ ซึ่งเพิ่มจากการที่ให้ผู้เสียภาษีนำดอกเบี้ยจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์มาลด หย่อนภาษีได้ 1 แสนบาท เพื่อกระตุ้นให้ผู้ต้องการซื้อบ้านรีบตัดสินใจ มาตรการนี้คาดว่าผู้ที่ต้อง เสียภาษีในอัตรา 20% และซื้อบ้านในปีนี้ จะประหยัดราคาขายอสังหาริมทรัพย์ได้ 60,000 บาท

นอกจากนี้กระทรวงการคลังได้ประสานงานไปยังธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อพิจารณาวงเงินให้กับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อ และเตรียมร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อจัดแกรนด์ เซลล์กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

แม้ว่ามาตรการที่ออกมาจะถูกจำกัดเฉพาะบ้านใหม่ และต้องจดจำนอง หรือโอนในปี 2552 นี้เท่านั้น แต่ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มกำลัง ซื้อในตลาดได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถดถอย ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า ไม่ได้ช่วยอะไร และยังคงน้ำหนักการลงทุนไว้ที่ระดับเดิม

นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ ให้ความคิดเห็นว่า มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่ออกมาเป็นมาตรการระยะสั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับการซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสินทรัพย์ระยะยาว อีกทั้งสัดส่วนการลดหย่อนที่ลดหย่อนเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ยในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 นั้น มองว่าไม่สอดคล้องกับโครงสร้างเงินผ่อนบ้าน (ในกรณีซื้อบ้านใหม่) เนื่องจากส่วนของดอกเบี้ยจะมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 2 ของเงินผ่อนจ่าย ผู้บริโภคที่จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากมาตรการดังกล่าวน่าจะเป็นกลุ่มผู้ บริโภคที่มียอดผ่อนต่อเดือน

สำหรับการซื้อบ้านใหม่ในช่วงระดับราคาประมาณ 5 หมื่นบาทต่อเดือน (ผู้ที่ซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาทขึ้นไป) บล.ฟาร์อีสท์ ไม่คาดหมายว่ามาตรการดังกล่าวจะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้มาก นัก เนื่องจากผู้บริโภคต้องให้น้ำหนักกับการลดหย่อนภาษีที่ได้เพียงปีเดียวกับ ภาระผูกพันอีก 25-30 ปี และจากมาตรการที่ออกมาไม่ประทับใจมากนัก จึงไม่คาดหมายว่าจะมีแรงซื้อเข้ามากระตุ้นให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวได้ คงน้ำหนักลงทุน

นอกจากนี้ในระยะสั้นก็ยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นการปรับเพิ่ม ขึ้นของราคาหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากผลประกอบการในไตรมาสที่ 4/2551 ที่ประกาศออกมา น่าจะไม่ประทับใจเท่าใดนักแม้จะมีปัจจัยเรื่องเงินปันผลที่ค่อนข้างมากมาจูง ใจก็ตาม

นางสาวจิตติมา กล่าวอีกว่าจังหวะเวลาที่ตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักหุ้นปันผลน่าจะเป็นช่วงปลาย ไตรมาสที่ 1/2552 ซึ่งเป็นช่วงใกล้จ่ายปันผลมากกว่า บล.ฟาร์อีสท์ จึงปรับลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ลง จาก “Slightly Overweight” เป็น “Neutral” โดยยังแนะนำหุ้น AP,PS และ SPALI จาก Downside ของการรับรู้รายได้ที่ไม่สูงมากนัก โดยจากการเข้าพบผู้บริหารบริษัท ประเมินว่าผลประกอบของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 จะยังมีกำไรสุทธิอยู่ แต่จะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551

นอกจากนี้ยังแนะนำให้พิจารณา QF,PF เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการบ้านระดับ high-end ทำให้น่าจะได้รับอานิสงส์จากมาตรการในครั้งนี้

เชื่อยอดบ้านใหม่ไม่เข้าเป้า

ด้าน นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นการกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นเท่านั้น และไม่ช่วยให้กำลังซื้อผู้บริโภคมีเพิ่มขึ้น เป็นเพียงเครื่องมือเร่งการตัดสินใจซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยให้เร็วขึ้นเท่า นั้น ขณะเดียวกัน การตัดสินใจซื้อบ้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังผูกติดกับ 1.ปัจจัยเรื่องความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และ 2.การปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน

ในแง่ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประเมินว่าความเชื่อมั่นในปีนี้จะต่ำ เพราะยังมีปัจจัยทางเศรษฐกิจอีกหลายอย่างที่ต้องติดตาม ส่วนปัจจัยเรื่องการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินนั้น มองว่าการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินในปีนี้จะมีความระมัดระวังค่อนข้างมาก จึงเชื่อว่าการขยายตัวภาคอสังหาริมทรัพย์จะไม่สูงมากในปีนี้ และประเมินว่าเป้าหมายยอดขายที่ภาครัฐตั้งไว้ที่ 100,000 หน่วยจะไม่บรรลุเป้าหมาย โดยคาดว่ายอดขายบ้านใหม่ในปี 2552 นี้จะอยู่ที่ 70,000 หน่วยเท่านั้น ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 ที่มียอดขายบ้านใหม่ 75,000 หน่วย

"คิดว่าการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ควรดำเนินการผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเป็นธนาคารที่เข้าถึงผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อบ้านและที่อยู่อาศัย โดยตรงมากกว่าการลดภาษี เพราะ ธอส.จะเป็นแหล่งเงินกู้ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบได้ดีและเข้าถึงผู้ บริโภคได้ทั่วถึง"

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 26 มกราคม 2552

0 ความคิดเห็น: