ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
26 มกราคม 2552

อัพเดตมาตรการภาษีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประจำปี 2552 ผู้ซื้อบ้านจะได้อะไรบ้าง

ภาค ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยมีการชะลอตัวลง เนื่องจากถูกกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลต่อกระทบในวงกว้างต่อประชาชนจำนวนมาก ทั้งที่เป็นผู้ซื้อบ้าน ผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง แรงงานก่อสร้าง รวมถึงผู้ประกอบการขนส่ง

ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในภาวะซบเซาให้มีการขยายตัว ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจต่อเนื่อง จึงเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน

โดยกรณีโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2552 ให้ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมิน เป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

ทั้งนี้ มาตรการตามเสนอเป็นมาตรการเพิ่มเติมจากที่ให้หักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านเป็นจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี

มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อนเป็นจำนวนเท่า กับมูลค่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 3 แสนบาท

จากมาตรการดังกล่าวจะทำให้ ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ที่มีการโอนในปี 2552 สามารถนำเงินต้นจากการกู้ซื้อบ้านมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 300,000 บาท เฉพาะปีภาษี 2552

และยังคงสิทธิการนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท รวมถึงการต่ออายุการลดค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเดิม 3.3% ลงเหลือ 0.11% ถึง มี.ค.53

มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะครอบคลุมบ้านราคา 1.5-2 ล้านบาทเป็นหลัก ซึ่งคิดเป็น 80% ของอสังหาริมทรัพย์ในตลาดปัจจุบัน ดังนั้น ถ้าผู้ซื้อบ้านที่มีภาระภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้า 20% จะได้รับส่วนลดจากมาตรการดังกล่าวประมาณ 60,000 บาทต่อปี

มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กร
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้


จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นขณะนี้ ผู้ประกอบกาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบ ไม่มากก็น้อย ซึ่งในท้ายที่สุดจะนำมาซึ่งปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ และเกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมา ซึ่งไม่เป็นการไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ค้ำประกันต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการเงินด้วย

ดังนั้น เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เกิดกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ก่อนที่จะเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินลุกลามไปมากกว่านี้

จึงเห็นควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (NPL) ที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยมีรายละเอียดดังนี้

(1) ยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่ ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่น

(2) ให้เจ้าหนี้สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่น สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากการปลดหนี้ดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ปกติ

(3) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นและเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรมที่ดิน

(4) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนำมาจำนอง เป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน

และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระ ผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงิน

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 25 มกราคม 2552 รวบรวมข้อมูลโดยเว็บไซต์โฮม home.co.th

0 ความคิดเห็น: