กรมบังคับคดี เร่งเครื่องขายทรัพย์ทั่วประเทศปีนี้ตามเป้า 1.2 แสนล้านบาท เผยแนวโน้มตลาดซื้อ-ขายทรัพย์บังคับดีคึกคัก
นายสิรวัต จันทรัฐ อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่าจากวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ทำให้อาจเกิดการฟ้องร้องบังคับคดีขณะเดียวกัน จากการประเมินผุ้ที่ซื้อทรัพย์จากรมบังคับคดีไป ส่วนใหญ่ประมาณ 80-90 % มีปัญหาทางการเงิน กล่าวคือ มีความจำเป็นต้องพึ่งการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และจะมีเพียง 10-20 % เท่านั้นที่ไม่ต้องการพึ่งแหล่งทุนจากสถาบันการเงิน
นอกจากนี้ ในส่วนสถาบันการเงินซึ่งสามารถซื้อทรัพย์ไว้ได้เองนั้น ก็เริ่มชะลอการซื้อทรัพย์หรือไม่เก็บทรัพย์ไว้กับตัวเอง แต่จะเก็บทรัพย์ไว้ที่กรมบังคับคดีเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการขายทอดตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดี จึงได้ผลกระทบโดยตรงต่อภาวะการประมูลทรัพย์สินของกรมบังคับคดีเป็นอย่างมาก
6 เดือนระบายทรัพย์ได้ 58 % ของเป้าปีนี้ 1.2 แสนล้าน
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีงบประมาณปี 2551 กรมบังคับคดีได้ตั้งเป้าหมายในการผลักดันทรัพย์สินออกประมาณ 1.1 แสนล้านบาท แต่จากการดำเนินงานตลอดปี 2551 กรมบังคับคดีสามารถดำเนินการได้เกินเป้าหมายที่วางไว้คือสามารถดำเนินการผลักดันสินทรัพย์รวมได้กว่า 1.19 แสนล้านบาท ส่วนปีงบประมาณปี 2552 กรมบังคับคดีมี เป้าหมายที่จะผลักดันทรัพย์สินจำนวน 1.2 แสนล้านบาท โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณคือ ต.ค 2551-มี.ค.2552 สามารถผลักดันทรัพย์สินได้ถึง 6.98 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 58 % ของเป้าหมายในการระบายทรัพย์ตลอดทั้งปี
โดยปีงบประมาณปี 2552 ในช่วงไตรมาสแรก(ต.ค. 2551- ธ.ค. 2551) มีคดีที่ค้างการดำเนินการทั้งสิ้น 57,403 เรื่องทุทนทรัพย์รวม 3.6 ล้านล้านบาท คดีเกิดใหม่จำนวน 8,326 เรื่อง ทุนทรัพย์รวม 2.2 แสนล้านบาท สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จจำนวน 9,828 เรื่อง ทุนทรัพย์รวมกว่า 2 แสนล้านบาท ส่วนไตรมาสสอง(ม.ค.-มี.ค. 2552) มีคดีที่ค้างดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 55,901 เรื่อง ทุนทรัพย์รวม 3.7 ล้านล้านบาท เป็นคดีเกิดใหม่จำนวน 4,117 เรื่อง ทุนทรัพย์รวม 6.7 หมื่นล้านบาท คดีที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5,394 เรื่องทุนทรัพย์รวม 7.8 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมสองไตรมาส(ต.ค. 2551- มี.ค. 2552) มีคดีที่ค้างดำเนินการจากปีงบประมาณปี 2551 จำนวน 57,403 เรื่องทุนทรัพย์รวม 3.69 ล้านล้านบาท เป็นคดีเกิดใหม่จำนวน 12,443 เรื่อง ทุนทรัพย์รวม 2.9 แสนล้านบาท สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จจำนวน 15,222 เรื่องทุนทรัพย์รวม 2.78 แสนล้านบาท
ส่วนค่าธรรมเนียมที่กรมบังคับคดีจัด เก็บได้นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โยในปีงบประมาณ 2550 อยู่ที่ 2,700 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2551 อยู่ที่ 4,300 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2552 ตั้งเป้าไม่น้อยกว่าปีก่อน คือกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณสามารถทำได้แล้ว3,100 ล้านบาท
เพิ่มเพดานวางเงินสู้ราคา-พัฒนาบริการ
พร้อมกันนี้ นายสิรวัต ยังกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ เป็นต้นไปกรมบังคับคดีได้ ปรับเพิ่มวงเงินในการเข้าสู้ราคาของผู้เข้าซื้อทรัพย์จาก 5 หมื่นบาท/รายการ เป็น 1 ล้านบาท/รายการ การปรับเกรฑ์ครั้งนี้เพื่อที่จะคัดกรองคนซื้อหลังจากที่พบว่าวงเงินที่นำมา วางเดิม 5 หมื่นบาทนั้นค่อนข้างน้อย แล้วทำให้ผู้ที่ประมูลซื้อไปไม้นำเงินส่วนทีเหลือมาวาง เมื่อครบกำหนดในเงื่อนไข ทำให้กรมบังคับคดีเสียเวลาและต้องนำทรัพย์ในรายการดังกล่าวนั้นกลับมาขายใหม่ซ้ำ โดยเกรฑ์การวางเงินสู้ราคาใหม่นี้จะใช้เป้ฯมาตรฐานเดี่ยวกันทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ทางกรมบังคับคดีกำลัง อยู่ระวห่างดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบบังคับคดีของกรมใหม่เพื่อให้การทำงานมี ความคล่องตัวและสะดวกมากขึ้นและให้ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากว่าระเบียบที่ใช้อยู่นั้นใช้มาตึ้งแต่ปี 2522
เพื่อให้การดำเนินการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กรมบังคับคดีจึง ได้เปิดให้บริการระบบค้นคว้าหาทรัพย์ที่ประกาศขายทอดตลาดทางอินเตอร์เน็ตแก่ ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ผ่าน www.led.go.th ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปค้นหารายการทรัพย์ที่ประกาศขายได้ตามประเภทของ ทรัพย์ เช่น ที่ดินว่างเปล่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด หุ้น สิทธิการเช่า หรือที่ตั้งของทรัพย์ สามารถกำหนดวงเงินที่มีในการค้นหาแต่ละครั้งได้ ประชาชนที่สนใจรายการใดที่ประกาศขาย สามารถตรวจสอบข้อมูลรายการทรัพย์ได้ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ทางกรมบังคับคดียัง ได้พัฒนาระบบรายงานผลการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เพื่อแจ้งผลการขายทอดตลาดทรัพย์แต่ละรายการ ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้บริการประชาชน ได้อย่างรวดเร็วทันใจ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสอบถาม และกรมบังคับคดียังมีระบบตรวจเลขเก็บหมายบังคับคดี เพื่อให้บริการประชาชน ที่ต้องการทราบว่าหมายบังคับคดีมาถึงกรมบังคับคดีแล้วหรือยัง เนื่องจากกระบวนการปฎิบัติงานในการบังคับคดีแพ่ง จะเริ่มจากหมายบังคับคดี เมื่อกรมบังคับคดีได้รับหมายบังคับคดีแล้ว จะมีการกำหนดเลขเก็บหมายบังคับคดีเพื่อจัดเก็บข้อมูล ดังนั้นประชาชนสามารถตรวจสอบได้ว่ากรมบังคับคดีได้รับหมายบังคับคดีแล้วหรือยัง กระบวนการดังกล่าวเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
พร้อมกันนี้ นายสิรวัต ระบุด้วยว่ากรมบังคับคดียัง ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่งและระบบคลังข้อมูล เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบงานเพื่อใช้ในการปฎิบัติงานและบริการประชาชนด้าน บังคับคดีแพ่ง ได้แก่ ระบบยึดทรัพย์สิน ระบบอายัดทรัพย์สิน และระบบจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งระบบงานสนับสนุนอื่นๆ เช่น ระบบงานคำนวณและเฉลี่ยทรัพย์สิน เพื่อให้การปฎิบัติงานและการบริการประชาชนมีความรวดเร็วขึ้น ที่สำคัญเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน คาดจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณปี 2553 ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบการให้บริการเว็บไซด์คดีแพ่ง ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียสามารถตรวจสอบรายละเอียดการปฎิบัติงานว่าแต่ละคดี อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการได้อย่างละเอียด
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 29-05-52
ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com
...
29 พฤษภาคม 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น