ติดต่อ ที่ดินภูเก็ต : ศักดิ์ดา การวิจิตร โทร : 081-5377146 อีเมล์ : s_karnwigit@yahoo.com ...
24 พฤศจิกายน 2551

การเสียสิทธิในที่ดิน

การเสียสิทธิในที่ดิน มีได้หลายประการ เช่น การเสียสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน การเสียสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

๑. การเสียสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ถ้าเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน อาจถูกบุคคลอื่นครอบครองที่ดินของเรา โดยปรปักษ์ก็ได้ คือ ถ้ามีบุคคลอื่นมาครอบครองที่ดินของเราโดยสงบ เป”ดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ต่อเนื่องเป็นเวลา ๑๐ ปี บุคคลอื่นนั้นก็จะได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินของเราไป (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒)ถ้าเป็นที่ดินที่มี น.ส. ๓, น.ส. ๓ ก, ส.ค. ๑ หรือที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญอย่างใดเลย ถ้ามีผู้มาแย่งการครอบครองเราจะต้องฟ้องเอา ที่ดินคืนภายใน ๑ ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนด ก็จะสิ้นสิทธิในที่ดินไป (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๕)

๒. การเสียสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้มีสิทธิในที่ดินอาจเสียสิทธิในที่ดินได้โดยที่ดินนั้นจะตกเป็นของรัฐในกรณีที่มีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกิน เวลาดังนี้
(๑) สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกิน ๑๐ ปี ติดต่อกัน
(๒) สำหรับที่ดินที่มี น.ส. ๓, น.ส. ๓ ก เกิน ๕ ปีติดต่อกัน
โดยถือว่าผู้นั้นเจตนาสละสิทธิในที่ดิน เฉพาะส่วนที่ได้ทอดทิ้งไม่ทำ ประโยชน์หรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเท่านั้น (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖)

ที่มา : กรมที่ดิน

0 ความคิดเห็น: